Sunday, April 27, 2014

เรื่อง กายวิภาคเปรียบเทียบระบบสืบพันธุ์สัตว์เพศเมีย credit อาหารเสริมลดน้ำหนัก



         กายวิภาคระบบสืบพันธุ์เพศเมีย (Female reproductive tract) ของสัตว์แต่ละชนิดมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในรูปร่าง ลักษณะภายนอก แต่ตำแหน่งของ female reproductive tract จะอยู่บริเวณ lower abdomen ทั้งหมด |อาหารเสริม astaxanthin
                เราจะทราบเพศของตัวอ่อนได้ตั้งแต่ขณะที่มีการปฏิสนธิ แต่ลักษณะรูปร่างที่จะบ่งบอกว่าเป็นสัตว์เพศเมียนั้นจะแสดงออกหลังจาก 30 วันของการตั้งท้อง ตัวอ่อนที่มีโครโมโซม XX จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาของต่อมเพศ(gonad)เป็นรังไข่(Ovary)ขึ้น โดยรังไข่จะพัฒนามาจากส่วนที่เรียกว่า gonadal ridge และจะเคลื่อนที่ไปทางส่วนท้ายของตัวอ่อนที่กำลังเจริญเติบโต ในส่วนของลักษณะทางเพศที่แสดงออกมา(Phenotype) จะพัฒนาภายหลังจากการมีการ differentiate ของ gonad //อาหารเสริมลดน้ำหนัก


                Primitive sex cord หรือ Gonadal cord ที่เจริญยืดยาวออกไปทางด้านท้ายลำตัว จะมี germ cell จำนวนมากอยู่ ซึ่ง germ cell เหล่านี้จะพัฒนาต่อไปเป็น oogonia, primodial follicles และ follicular cells ตามลำดับ

Follicle ที่อยู่ลึกลงไปในรังไข่จะเสื่อมสลายกลายเป็น ovarian stroma ซึ่งจะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและหลอดเลือดมาเลี้ยง
                เซลล์สืบพันธุ์เพศเมียเข้าสู่ระยะไมโอซิสตั้งแต่ลูกสัตว์อยู่ในท้องแม่ ทำให้เซลล์สืบพันธุ์พัฒนาเป็น primary oocyte อย่างไรก็ตามไมโอซิสหยุดชะงักลงและเซลล์สืบพันธุ์จำนวนมากจะสลายไปในขณะที่ลูกสัตว์อยู่ในท้องจนถึงหลังคลอดและคงเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่อสัตว์เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
                ในระยะ embryo ท่อของระบบสืบพันธุ์มีอยู่ 2 ท่อหลักๆ คือ mesonephric duct (Wolfian duct)และ paramesonephric duct (Mullerian duct) ในสัตว์เพศเมียนั้น ท่อmesonephric duct จะเสื่อมสลายไป ท่อที่เจริญต่อคือ ท่อparamesonephric duct ซึ่ง paramesonephric duct นี้จะพัฒนาต่อไปเป็น oviduct, uterine horn, uterus และส่วนต้นของ vagina
อาหารเสริม

ส่วนการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกจะเจริญมาจาก urogenital sinus ส่วนท้าย รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่โดยรอบที่มาจาก lateral mesoderm การเจริญยืดยาวออกของเนื้อเยื่อเหล่านี้ก่อให้เกิด genital tubercle ขึ้น โดยมี cloacal fold และ genital swelling เจริญเป็นส่วนนูนที่อยู่ถัดออกมาทางด้านข้างของ genital tubercle
Cloacal fold จะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน โดย urorectal septum แบ่งออกได้เป็น anal fold และ urogenital fold ซึ่งในสัตว์เพศเมีย urogenital fold จะไม่เชื่อมกันก่อให้เกิดเป็น labia
Labia 2 ข้างที่เจริญขึ้นมากนั้นจะทำให้ genital tubercle หลบไปอยู่ที่พื้นของ vestibule พัฒนาต่อกลายเป็น clitoris ส่วน genital swelling ในสัตว์ส่วนใหญ่จะค่อยๆหายไปในที่สุด แต่ในมนุษย์จะมีความแตกต่างคือ genital swelling จะเจริญเป็น labia majora และ urogenital fold จะเจริญเป็น labia minora
Female reproductive tract แบ่งได้เป็น female internal genitalia และ female external genitalia
Female internal genitalia ประกอบด้วย ovary, oviduct, uterus และ vagina

Female external genitalia ประกอบด้วย vestibule, vulva และ clitoris
อาหารเสริม สอง

รังไข่ (Ovary) รูปร่างของรังไข่แตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด โดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ในสุกรมีรูปร่างเหมือนพวงองุ่นและในม้ามีรูปร่างเหมือนไต นอกจากนี้ขนาด รูปร่างของรังไข่มีความแตกต่างกันไปเนื่องจากโครงสร้างที่เกิดขึ้นในช่วงระยะต่างๆ ของวงรอบการเป็นสัด และการตั้งท้อง แต่โดยทั่วไปจะวางตัวอยู่ในช่องท้อง ทางด้านท้ายของไต มี ovarian artery และ ovarian vein มาเลี้ยง ซึ่งจะมีลักษณะพิเศษ คือมีการ anastomosis กับ uterine artery ที่ไปเลี้ยงมดลูก ในสัตว์บางชนิดเช่นสัตว์ในตระกูลสุนัข จะมี ovarian bursa ที่มีลักษณะเป็นถุงที่หุ้มรังไข่เอาไว้
รังไข่จะมี ligament ที่สำคัญ อยู่ 3 ligament
1. Suspensory ligament เป็น ligament ที่ยึดระหว่าง ovary และ diaphragm
2. Proper ligament เป็น ligament ที่ยึดระหว่าง ovary กับ ส่วนปลายสุดของ uterine horn
3. Mesovarium เป็นส่วนหนึ่งของ broad ligament แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
                Proximal part จะยึดจาก abdominal wall ไปจนถึง mesosalpinx (เยื่อยึดรังไข่) และ distal part จะยึดจาก mesosalpinx ไปจนถึง ovary
อาหารเสริม สาม
ภายในรังไข่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ด้านนอก (Cortex) และส่วนที่อยู่ด้านใน (Medulla) ยกเว้นรังไข่ของม้าที่ส่วน cortex จะอยู่ตรงส่วนกลางของรังไข่และมีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ด้านนอกบริเวณที่จะเกิดการตกไ เรียกตำแหน่งนั้นว่า ovulation fossa
ส่วน cortex เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ชั้นผิวนอกของรังไข่โดยแยกจากกันด้วยชั้นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนาที่เรียกว่า tunica albuginea ภายในชั้นนี้จะมี oocyte, follicleและ corpus luteum
ส่วน medulla เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณส่วนกลางของรังไข่ ประกอบด้วยหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ส่งแขนงมาเลี้ยงส่วน cortex และมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลวมๆแทรกอยู่

อาหารเสริม สี่

โครงสร้างที่สามารถพบได้บนรังไข่ ได้แก่
1.Follicle
2.Corpus haemorrhagicum (CH)
3.Corpus luteum (CL)
4.Corpus albicans (CA)


Follicle
Follicle บนรังไข่มี follicle จำนวนมากและมีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 6-20 มิลลิเมตร ลักษณะที่พบจะเป็นถุงน้ำใสๆ ผิวตึงอยู่บนผิวรังไข่ จากขนาดและลักษณะของ follicle ทำให้สามารถแบ่งfollicleได้เป็น 4 ชนิด คือ primary follicle, secondary follicle, tertiary follicle และ atretic follicle
Primary follicle เป็น follicle ที่มีขนาดเล็ก ประกอบด้วย oocyte และ เซลล์ที่มาหุ้มรอบเรียกว่า granulosa cell หรือ follicular cell ในระยะเริ่มแรก granulosa cell จะมีลักษณะแบน(squamous)ซึ่งเรียก follicle ในระยะนั้นว่า primodial follicle ต่อมา granulosa cell จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นรูปสี่เหลี่ยมเตี้ยๆ(cuboidal)จึงเรียกเป็น primary follicle ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 40 µm จะพบ follicle ชนิดนี้ได้ ที่ขอบด้านนอกของชั้น cortex ติดกับเยื่อบุผิวชั้นนอกของรังไข่
Secondary follicle เป็น follicle ที่มี granulosa cell มีจำนวนมากกว่า 1 ชั้น โดยยังไม่พบช่องว่างภายใน follicle ในช่วงนี้จะเกิดการสร้างชั้นไกลโคโปรตีนหนาประมาณ 3-5 µm ขึ้นมาหุ้มรอบ oocyte เรียกว่า zona pellucida การสร้าง zona pellucida เกิดจากการหลั่งสารพวกไกลโคโปรตีนจาก granulosa cell ที่อยู่ติดกับขอบ plasma membrane ของ oocyte และมีบางส่วนหลั่งมาจาก oocyte ด้วย ขนาดของ secondary follicle ช่วงท้ายๆของโคมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 µm และ oocyte ภายในมีขนาดประมาณ 80 µm
อาหารเสริม ห้า
Tertiary follicle (Antral follicle, Graafian follicle) เป็น follicle ที่มีลักษณะเด่นคือมีช่องว่างภายในเรียกว่า Antrum ช่องว่างนี้เกิดจากการรวมตัวกันของช่องว่างเล็กๆระหว่าง granulosa cell ที่เกิดขึ้นในช่วงท้ายของ secondary follicle กลายเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ ภายในบรรจุของเหลวที่หลั่งออกมาจาก granulosa cell เรียกว่า follicular fluid หรือ liquor folliculi ภายใน follicle ชนิดนี้มีขนาดประมาณ 150-300 µm แตกต่างกันตามชนิดสัตว์ รอบนอกของ oocyte มี granulosa cell เกาะหุ้มอยู่โดยรอบเรียกว่า cumulus oophorus และในช่วงท้ายของ tertiary follicle granulosa cell ชั้นในสุดที่ติดกับ oocyte จะเปลี่ยนรูปร่างเป็นเซลล์รูปแท่งยาวๆ เรียกว่า corona radiate ซึ่งเชื่อว่าทำหน้าที่ส่งสารอาหารให้กับไข่ ในสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อไข่ตกแล้วเซลล์กลุ่มนี้จะหายไป แต่ในสัตว์ชนิดอื่นจะยังคงมีติดอยู่กับ oocyte จนถึงช่วงก่อนเกิดการปฏิสนธิ สำหรับ tertiary follicle ที่โตเต็มที่พร้อมจะตกไข่ เรียกว่า mature follicle หรือ graafian follicle ในสัตว์ใหญ่ เช่น โค เมื่อ tertiary follicle โตเต็มที่ บางครั้งกินพื้นที่เต็มส่วน cortex ของรังไข่และมีส่วนที่นูนตึงขึ้นมาทำให้สามารถคลำพบได้จากการล้วงตรวจผ่านทางทวารหนัก
อาหารเสริม หก

Atretic follicle (Regression follicle) คือการเสื่อมสลายของ primary follicle, secondary follicle และ tertiary follicle โดยจะเริ่มจากการสลายของ oocyte ก่อน จากนั้น follicle จะสลายตามไป การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ของ follicle ที่เสื่อมสลายสังเกตได้จากการเกิดการสลายตัวของนิวเคลียสและโครมาติน ชั้น basement membrane จะเกิดเป็นรอยหยักและมีการสะสมของสาร hyalin เรียกว่า glassy membrane

Corpus haemorrhagicum (CH)
                CH เกิดจาก follicle ที่แตกออกหลังจากเกิดการตกไข่ โดยเลือดเข้ามาแทนที่ follicular fluid ภายใน antrum จนเต็ม ลักษณะที่พบบนรังไข่คือ เป็นรอยบุ๋มบนผิวรังไข่ ปกคลุมด้วยเนื้อเยื่อบางมีลักษณะหยุ่นๆ ภายในมีสีแดงของก้อนเลือดที่แข็งตัวแล้ว

Corpus luteum (CL)
                ช่วงหลังจากไข่ตกแล้ว granulosa cell และ theca cell เปลี่ยนสภาพเป็น luteal cell เรียกว่าการเกิด luteinization ส่วนที่พบเป็นสีเหลืองนั้นเรียกว่า lutein pigment
                Luteal cell มีความสามารถในการสร้างฮอร์โมน progesterone ได้

Corpus albicans (CA)
                Corpus albicans ในภาษาละตินคือ whitening body
CA เกิดจาก CL ที่เสื่อมสลาย  การเสื่อมของ luteal cell สังเกตได้จากการเกิดการรวมตัวของ lutein pigment อย่างหนาแน่น ตามมาด้วยการเกิด fibrosis ในโคจะพบปรากฏการณ์นี้ในวันที่ 15 หลังการตกไข่ จากนั้น CL จะยุบตัวลงอย่างรวดเร็วเกิดเป็นรอยแผลเป็นซึ่งมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันจำนวนมาก รอยแผลเป็นนี้เรียกว่า CA มีสีตั้งแต่สีเหลืองซีดหรือสีแดงอิฐซึ่งปรากฏอยู่ในเนื้อรังไข่ได้นานหลายเดือน




หน้าที่ของรังไข่
                หน้าที่สำคัญของรังไข่ คือ การผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (Female gametogenesis) และการผลิตและหลั่งฮอร์โมนเพศ

การผลิตเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ซึ่งก็คือ oocyte นั่นเอง โดยกระบวนการสร้าง oocyte ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
  1. Oocyte multiplication
เป็นการเพิ่มจำนวน oocyte ด้วยการแบ่งตัวแบบ mitosis ของ primodial germ cell ที่เคลื่อนที่มาบริเวณ gonadal ridge จะเปลี่ยนแปลงเป็น oogonia
  1. Formation of oocyte and primodial follicle
ภายหลังจาก oogonia มีการแบ่งตัวแบบ mitosis จำนนวนมากแล้ว เมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง oogonia เหล่านี้จะเข้าสู่การแบ่งตัวแบบ meiosis ครั้งแรก และเปลี่ยนชื่อเป็น primary oocyte และจะหยุดการแบ่งตัวเรียกว่า meiotic arrest ที่ระยะ metaphase I oocyte ในระยะนี้มีนิวเคลียสขนาดใหญ่เรียกว่า germinal vesicle (GV) เซลล์ที่อยู่รอบๆ oocyte จะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นเซลล์แบนๆชั้นเดียวเรียกว่า granulosa cell หรือ follicular cell มาหุ้มรอบ oocyte เราเรียกโครงสร้างรวมทั้งหมดนี้ว่า primodial follicle เมื่อมีการพัฒนาขึ้น granulosa cell ที่หุ้มรอบ oocyte จะเปลี่ยนรูปเป็นรูปเหลี่ยมสั้น(cuboidal) เรียกว่า primary follicle ในลูกโคแรกเกิดมี 75,000-297,000 primary follicle อยู่ในรังไข่แต่ละข้าง แต่ตลอดชีวิตของสัตว์นั้นมี primary oocyte เพียงส่วนเดียวของทั้งหมดที่มีโอกาสเจริญพัฒนาขึ้นจนถึงระดับที่สามารถตกไข่ได้ ส่วนมากของ primary oocyte จะเสื่อมสลายไปทั้งในช่วงก่อนและหลังคลอด
  1. Folliculogenesis and growth of the follicle
Folliculogenesis คือการสร้าง follicle ซึ่งมีกลไกการควบคุมแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
-          ระยะจาก primary follicle ถึงระยะก่อนการสร้าง antrum (Preantral stage) การพัฒนาในระยะนี้ไม่ได้ขึ้นกับระดับฮอร์โมน gonadotropin
-          ระยะที่มีการสร้าง antrum จนถึงการตกไข่ ระยะนี้การพัฒนาของ follicle ถูกควบคุมด้วย gonadotropin hormone โดยเฉพาะ Follicle stimulating hormone ซึ่งมีหน้าที่ในการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งเซลล์ของ granulosa cell และการสร้าง antrum
  1. Maturation of the oocyte
กระบวนการโตเต็มวัยของ oocyte ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
-          Oocyte growth
-          RNA storage
-          Nuclear maturation เกิดการ resumption ของ meiosis เพื่อเข้าสู่ระยะ metaphase II ก่อนเกิดการตกไข่
-          Cytoplasmic maturation เป็นกระบวนการสุดท้ายที่ทำให้ oocyte พร้อมปฏิสนธิกับอสุจิได้และจะสมบูรณ์เมื่อ gonadotropin เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงก่อนตกไข่
  1. Ovulation
Follicle ที่โตเต็มที่จะมี follicular fluid ปริมาณมาก ทำให้ผิวของ follicle ตึงบางและนูนออกจากผิวของรังไข่ ขนาดของfollicle ที่โตเต็มที่พร้อมตกไข่ในโคประมาณ 15-20 mm ในม้าประมาณ 50-70 mm ในสุกรและแพะประมาณ 10 mm ส่วนในสุนัขและแมวประมาณ 2 mm


การผลิตและหลั่งฮอร์โมนเพศ
                หน้าที่สำคัญอีกอย่างของรังไข่ คือ การสร้างฮอร์โมน ซึ่งได้แก่ ฮอร์โมน Androgen, Estrogen และ Progesterone



Androgen
                ในสัตว์เพศเมีย androgen ผลิตจาก Theca cell โดยการกระตุ้นจาก LH ซึ่งฮอร์โมน Androgen นี้จะเป็นสารตั้งต้นของการสร้างฮอร์โมน estrogen และมีส่วนในการเสื่อมสลายของ antral follicle



Estrogen
                สร้างจาก granulosa cell และหลั่งออกมาสะสมอยู่ภายใน follicular fluid ซึ่งความเข้มข้นของ estrogen สูงกว่าในกระแสโลหิตถึง 1,000 เท่า โดย androgen ที่สร้างจาก theca cell จะถูกส่งผ่าน theca cell มายัง granulasa cell ผ่านทาง basement membrane และด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน FSH ไปกระตุ้นการทำงานของ aromatase enzyme ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน androgen ไปเป็น estrogen



Progesterone
                ถูกสร้างและหลั่งจาก corpus luteum โดยมี cholesterol จากพลาสมาและบางส่วนจากการสังเคราะห์ภายใน corpus luteum เองเป็นสารตั้งต้น เมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้เป็น pregnennolone ซึ่งถูกปล่อยออกมานอก mitochondria จากนั้น pregnennolone จะถูกเปลี่ยนเป็น progesterone โดย microsomal enzyme ใน endoplasmic reticulum (ER)



ท่อระบบสืบพันธุ์ (Genital duct)
                ท่อระบบสืบพันธุ์ หมายรวมถึง ท่อนำไข่ มดลูก และช่องคลอด ซึ่งท่อนี้พัฒนามาจาก paramesonephric (Mullerian duct) ของตัวอ่อน

ท่อนำไข่ (Oviduct)
                ท่อนำไข่ (Oviduct, salpinx, fallopian tube) มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆ ขดไปมาอยู่ในเยื่อยึดรังไข่ (mesosalpinx)  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ broad ligament เชื่อมต่อระหว่าง ovary และ uterine horn เป็นทางผ่านของตัวอ่อนที่จะลงไปฝังตัวบริเวณมดลูก ท่อนำไข่มีความยาวและลักษณะการขดตัวแตกต่างกันไปตามชนิดสัตว์ อาจแบ่งท่อนำไข่ออกได้เป็น 4 ส่วนคือ Fimbriae, Infundibulum, Ampulla, Isthmus
Fimbriae              มีลักษณะเป็นแผงคล้ายพู่ขน ยึดติดกับรังไข่ทางด้านบน
Infundibulum    มีลักษณะคล้ายกรวย มีรูเปิดเข้ามาในช่องท้องอยู่ใกล้ๆกับรังไข่
Ampulla               เป็นส่วนต่อจาก infundibulum ยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวท่อทั้งหมด
Isthmus                                เป็นส่วนต่อจาก ampulla โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางแคบกว่าส่วนปลายอีกข้างหนึ่งที่ต่อกับมดลูก
                บริเวณรอยต่อระหว่างท่อนำไข่กับมดลูก เรียกว่า uterotubal junction (UTJ) ตำแหน่งนี้ไม่มีกล้ามเนื้อหูรูดที่ชัดเจน แต่ในสุกรจะมีเยื่อบางๆคล้ายนิ้วมือมากั้นไว้ ส่วนในโคและแกะมีการหดตัวได้โดยเฉพาะในช่วงเป็นสัด ท่อนำไข่มีกล้ามเนื้อเรียบทอดยาวตลอดท่อเพื่อช่วยในการบีบตัว
                ลักษณะเยื่บุภายในท่อนำไข่มีลักษณะเป็นรอยหยัก โดยเฉพาะที่ ampulla มีรอยหยักที่ซับซ้อนมาก ซึ่งค่อยๆลดลงในส่วนของ isthmus และ UTJ ภายในท่อมีของเหลวบรรจุอยู่เล็กน้อย เยื่อบุท่อนำไข่ประกอบด้วยเซลล์รูปแท่งเพียงชั้นเดียว ซึ่งมีทั้งเซลล์ที่มีและไม่มีซีเลีย เซลล์ที่มี cilia พบว่ามีจำนวนมากบริเวณ infundibulum และค่อยๆลดจำนวนลงในช่วงของ ampulla และ isthmus ส่วนเซลล์ที่ไม่มี cilia เป็นเซลล์ที่สร้างสารคัดหลั่ง (secretory cell) ประกอบด้วย  secretory granule ในสัตว์แต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนเซลล์ชนิดนี้ต่างกันไป โดยขึ้นอยู่กับวงรอบการเป็นสัดด้วย
                ท่อนำไข่มีเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงมาจาก uterine และ ovarian artery เส้นประสาทมาจากปมประสาทบริเวณ utero-ovarian area และจาก pre และ paravertebral ganglion โดยเส้นประสาทส่วนใหญ่จะไปอยู่ที่กล้ามเนื้อเรียบบริเวณ isthmus และ UTJ
                หน้าที่ของท่อนำไข่
  1. ขนส่ง oocyte และตัวอสุจิ
ลักษณะภายในท่อนำไข่เอื้ออำนวยต่อการขนส่งเซลล์เหล่านี้ โดยแผงขนของ fimbria จะช่วยพัดโบกให้ oocyte ที่ตกออกจากรังไข่ให้เข้ามายังช่องเปิดของ infundibulum จากนั้น oocyte เดินทางผ่านรอยหยักต่างๆ เข้ามาจนถึงบริเวณที่จะเกิดการปฏิสนธิ คือที่ ampulla โดยอาศัยการโบกพัดของ cilia ร่วมกับการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ส่วนบริเวณ ampulla และ isthmus จะมีการผลิตและหลั่งของเหลวออกมาในท่อเพื่อให้ตัวอสุจิว่ายเข้าไปหา oocyte ได้ง่ายขึ้น
  1. ผลิตของเหลว
ของเหลวที่หลั่งออกมาภายในท่อนำไข่เรียกว่า oviductal fluid ผลิตมาจากเซลล์ที่ไม่มี cilia ซึ่งปริมาณที่ผลิตและการสะสมของเหลวนี้ขึ้นกับอิทธิพลของฮอร์โมนเพศโดยเฉพาะ estrogen ดังนั้นจึงพบของเหลวนี้มีปริมาณมากในช่วงเป็นสัดและลดลงในช่วง luteal phase ของเหลวนี้ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น เป็นแหล่งอาหารให้กับ oocyte  ทำให้ตัวอสุจิผ่านกระบวนการ sperm capacitation ช่วยในการปฏิสนธิและการพัฒนาตัวอ่อนในระยะแรก
  1. เป็นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิ
Oocyte และตัวอสุจิเข้ามาพบกันและเกิดการปฏิสนธิที่บริเวณ ampulla โดยมี cilia และกล้ามเนื้อเรียบช่วยบีบตัวให้ oocyte กับตัวอสุจิเข้าใกล้กันมากที่สุด
  1. ขนส่งตัวอ่อน
ภายหลังเกิดการปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนจะถูกขนส่งมายังมดลูกโดยการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบและการโบกพัดของ cilia ซึ่งในช่วงนี้ตัวอ่อนเริ่มมีการแบ่งตัวระยะแรกแล้ว และจะใช้เวลาอยู่ในท่อนำไข่ประมาณ 3วัน การโบกพัดของ cilia ยังช่วยไม่ให้ตัวอ่อนเกาะติดและฝังตัวที่ท่อนำไข่ด้วย

มดลูก (Uterus)
มดลูกประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ปีกมดลูก (uterine horn) 2 ข้าง ตัวมดลูก (body) และคอมดลูก (cervix) และจากลักษณะของปีกมดลูกและตัวมดลูกที่แตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด เนื่องจากดีกรีในการรวมตัวกันของ paramesonephric duct ที่ต่างกันไป ทำให้แบ่งมดลูกออกได้เป็น 3 แบบ

                   1 Bipartite uterus

คือมดลูกที่มีปีกมดลูกแยกกันอย่างชัดเจน ตัวมดลูกมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับความยาวของปีกมดลูก สัตว์ที่มีมดลูกแบบนี้ได้แก่ โค ม้า แพะ แกะ


อาหารเสริม แปด
2 Bicornual uterus
คือมดลูกที่มีปีกมดลูกแยกออกจากกันเด่นชัดและมีความยาวมาก จึงทำให้ดูว่าตัวมดลูกมีขนาดเล็กมาก สัตว์ที่มีมดลูกแบบนี้ได้แก่ สุกร สุนัข แมว
อาหารเสริม เก้า
               3  Simplex uterus
คือ มดลูกที่มีตัวมดลูกขนาดใหญ่และกลม ไม่มีปีกมดลูก ได้แก่มดลูกของมนุษย์\
ขาย อาหารเสริม

                ตำแหน่งของมดลูกแตกต่างกันไปตามชนิดของสัตว์ และระยะการตั้งท้อง ในช่วงที่ไม่ตั้งท้องนั้น โดยทั่วไปคอมดลูกจะอยู่บนกระดูกเชิงกราน ส่วนปีกมดลูกจะยื่นเข้าไปในช่องท้อง เยื่อ broad ligament ที่ยึดมดลลูกไว้กับลำตัวทางด้านข้างและด้านหน้าเรียกว่า mesometrium และพบ round ligament ที่พาดอยู่ตาม mesometrium ทางด้านข้างช่วยพยุงมดลูกไว้ด้วย มดลูกได้รับเส้นโลหิตหล่อเลี้ยงจาก uterine artery,  แขนงจาก internal และ external iliac artery และ utero-ovarian artery
                มดลูกแบ่งได้เป็น 3 ชั้น คือ
1.   ส่วนที่อยู่ด้านในสุดเป็นส่วนของเนื้อเยื่อชั้น mucosa เรียกว่า Endometrium (ใน ruminant ชั้นendometriumนี้จะมี caruncle ซึ่งเป็นจุดยึดเกาะของรกที่ mucosal membrane ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนสารอาหารและของเสียระหว่างแม่กับลูก) ผนังชั้นในของมดลูกนี้ ประกอบด้วยต่อม endometrial gland ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวแตกแขนงและขดไปมา เยื่อบุผิวท่อเป็นรูปแท่ง (columna)  มีรูเปิดเข้าที่ผิว endometrium ยกเว้นบริเวณ caruncle ต่อมนี้มีการขยายตัวภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมน progesterone ทำหน้าที่ผลิต uterine fluid ซึ่งมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ ช่วยปรับสภาพแวดล้อมภายในมดลูกให้เหมาะกับการเกิดกระบวนการ sperm capacitation ของตัวอสุจิ และเป็นแหล่งอาหารให้แก่ตัวอ่อนในช่วงก่อนเกิดการฝังตัว
2.   ชั้นกล้ามเนื้อของมดลูก เรียกว่า Myometrium
3.   ชั้นนอกสุดของมดลูกที่อยู่ติดกับ peritoneum เรียกว่า perimetrium
หน้าที่ของมดลูก
1.   ช่วยในการขนส่งตัวอสุจิ
โดยการบีบตัวของชั้น myometrium และในขณะที่ตัวอสุจิว่ายผ่าน uterine fluid ก็จะเกิดกระบวนการ sperm capacitation
2.   ควบคุมการสลายตัวของ CL
มดลูกชั้น endometrium เป็นแหล่งผลิตสารสลาย CL ซึ่งได้แก่ ฮอร์โมน PGF2α แล้วถูกปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิตไปยังรังไข่โดยตรงผ่านทาง utero-ovarian pathway โดยฮอร์โมนจะถูกขนส่งผ่านไปทาง utero-ovarian vein ที่วิ่งขนานไปกับ ovarian artery ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน PGF2α จาก utero-ovarian vein ไปยัง ovarian artery ในกรณีที่เกิดการตั้งท้อง กระบวนการสลาย CL นี้จะถูกยับยั้งโดยสารที่หลั่งจากตัวอ่อน นอกจากนี้ในโคและแกะพบว่าในกรณีที่มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นโดยไม่ได้ตั้งท้อง เช่น มีหนองขังในมดลูก หรือกรณีที่มดลูกได้รับการระคายเคืองจากการติดกเชื้อแบคทีเรียและไวรัส กระบวนการสลาย CL นี้ก็ถูกยับยั้งด้วยเช่นกัน
3.   เป็นตำแหน่งฝังตัวของตัวอ่อน มดลูกเป็นอวัยวะที่ออกแบบมาเป็นพิเศษให้มีความสามารถในการขยายขนาดได้และปรับตำแหน่งให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน และทำหน้าที่ให้สารอาหารและปกป้องตัวอ่อนจนครบกำหนดคลอด
4.   ช่วยในการคลอดลูก มดลูกทำหน้าที่บีบตัวเพื่อขับให้ลูกคลอดออกมาได้ โดยในช่วงตั้งท้อง ฮอร์โมน progesterone ทำหน้าที่ยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อ แต่ก็มีผลให้เกิดการเพิ่มจำนวนและขยายขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้เพื่อเตรียมพร้อมในช่วงคลอด เมื่อครบกำหนดคลอด progesterone จะลดระดับลง ในขณะที่ estrogen เพิ่มสูงขึ้นและกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวของมดลูกเพื่อขับลูกออกมา

คอมดลูก (cervix)
                คอมดลูกเป็นส่วนที่มีความแข็งมากที่สุดของระบบสืบพันธุ์ เป็นชั้นกล้ามเนื้อหนา และมี elastic fiber มาก มีชั้นกล้ามเนื้อเรียบอยู่เล็กน้อย จึงมักใช้เป็นจุดตั้งต้นของการล้วงคลำผ่านทางทวารหนัก ภายในคอมดลูก มีต่อมสำหรับผลิตเมือก (cervical crypt) ขนาดและความยาวของคอมดลูกแตกต่างกันไปตามชนิดของสัตว์ พันธุ์สัตว์และอายุ ภายในคอมดลูกประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นรอยหยักพับ (cervical fold) มีรูปแบบแตกต่างกันไปตามชนิดสัตว์ cervical fold ของโคและแกะมีลักษณะเป็นวง (annular ridge) มีประมาณ 3-4 วงในโค และ 6-7 วงในแกะ ในสุกรมีลักษณะเป็นเกลียว (cockscrew) ส่วนในม้ามีลักษณะเป็นสันตามยาว (longitudinal fold)
                ส่วนที่ต่อกับช่องคลอด มีส่วนของคอมดลูกยื่นเข้าไปด้านในช่องคลอด ทำให้เกิดเป็นกระพุ้งเรียกว่า fornix ซึ่งไม่พบในสุกร รูเปิดติดต่อระหว่างช่องคลอดกับมดลูกหรือเรียกว่า ปากมดลูก (external os)

หน้าที่ของคอมดลูก
1.   ขนส่งตัวอสุจิ
   ในช่วงเป็นสัด estrogen มีผลในการกระตุ้นให้คอมดลูกผลิตเมือก (cervical mucous) จาก cervical crypt ซึ่งช่วยในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ นอกจากนี้เชื่อว่า cervical crypt ทำหน้าที่ในการสะสมตัวอสุจิเอาไว้และค่อยๆปล่อยเข้าสู่มดลูก แต่บางคนเชื่อว่าตัวอสุจิที่เข้าไปอยู่ใน cervical crypt แล้วไม่มีทางออกมาได้ จึงเป็นการลดจำนวนอสุจิที่จะเข้าไปปฏิสนธิกับ oocyte ด้วย
2.   ช่วยปกป้องการตั้งท้อง
    ในช่วงการตั้งท้อง คอมดลูกจะผลิตเมือกที่เหนียวหนามาปิดกท่อเพื่อป้องกันไม่ให้มีตัวอสุจิอื่นหรือเชื้อโรคเล็ดลอดเข้าไปในมดลูกได้อีก เมือกเหนียวนี้จะอ่อนตัวและหลุดออกไปก่อนคลอดเล็กน้อย

ช่องคลอด (vagina)
                ช่องคลอดมีลักษณะเป็นท่อกลวง เริ่มตั้งแต่คอมดลูกไปถึงบริเวณก่อนทางเปิดของท่อนำน้ำปัสสาวะ ในช่วงต้นของช่องคลอดที่ติดกับคอมดลูกมีกระพุ้มเรียกว่า fornix ซึ่งมักก่อปัญหาให้กับนักผสมเทียมที่บางครั้งไม่สามารถสอดท่อผสมเทียมเข้าปากมดลูกได้ จึงปล่อยน้ำเชื้อบริเวณนี้ ส่วนท้ายของช่องคลอดสิ้นสุดที่แผ่นเนื้อเยื่อที่นูนขึ้นมาเป็นสันวงกลมเรียกว่า hymen ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างเนื้อเยื่อชั้นในและเนื้อเยื่อชั้นนอก เซลล์เยื่อบุผิวของช่องคลอดนี้มีการเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของฮอร์โมน estrogen และ progesterone ซึ่งในสุนัขนั้นสามารถใช้การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุผิวช่องคลอดนี้ในการทำนายระยะการเป็นสัดได้โดยการทำ vaginal smear

หน้าที่ของช่องคลอด
1 เป็นอวัยวะรองรับการผสมพันธุ์
   ภายหลังที่สัตว์ได้รับการผสมพันธุ์แล้วกระพุ้งของช่องคลอดจะขยายตัวออกเป็นที่พักของน้ำกเชื้อ ตัวอสุจิจะอยู่    บริเวณนี้จนกว่ามันจะเคลื่อนที่เข้าไปในคอมดลูก แต่ส่วนน้ำเลี้ยงเชื้อ (seminal plasma) จะไม่ผ่านเข้าไปใน       มดลูก มันจะถูกขับออกหรือถูกดูดซึมกลับเข้าทางเยื่อบุผิวช่องคลอด
2 เป็นทางผ่านของของเหลวที่มาจากท่อระบบสืบพันธุ์ เช่นของเหลวที่มาจากท่อนำไข่ จากมดลูก จากคอมดลูก     โดยของเหลวเหล่านี้จะช่วยปรับสภาพภายในช่องคลอดให้เหมาะสมต่อการดำรงอยู่ของตัวอสุจิ
3 เป็นทางให้ลูกสัตว์คลอด

กระพุ้งช่องคลอด (vestibule)
                เป็นบริเวณที่ต่อมาจากช่องคลอดยาวออกมาจนถึงบริเวณ lips of vulva ในสัตว์จะมีความยาวมากเมื่อเทียบกับของมนุษย์ ยกเว้นในแมวที่จะมี vestibule ที่สั้นมาก

หน้าที่ของ vestibule
                ผลิตสารหล่อลื่นจาก vestibular gland ออกมาในช่วงที่สัตว์ได้รับการผสมพันธุ์และในช่วงที่เกิดการคลอด

Vulva
                Vulva ประกอบด้วย vulva lips 2 อัน ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่ม บริเวณที่ vulva lip ทั้ง 2 อันมาบรรจบกันด้านล่างเรียกว่า ventral commissure  ซึ่งเป็นที่อยู่ของ clitoris  ส่วนที่บรรจบกันด้านบนเรียกว่า dorsal commissure
                Labia จะมีทั้ง labia majora อยู่ด้านนอกและ labia minora อยู่ด้านใน ซึ่งบางสปีชีส์จะไม่เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

หน้าที่ของ vulva
Vulva เปรียบเสมือนประตูเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะและรูปร่างของ vulva ของโค สามารถใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคิดเลือกแม่พันธุ์ แม่โคที่มี vulva ขนาดเล็กหรือไม่เจริญสมส่วนบ่งบอกได้ถึงภาวะขาดสมดุลฮอร์โมน ส่วนแม่โคที่มี vulva lips ผิดปกติ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาเช่น การมีอากาศขังอยู่ในช่องคลอดเนื่องจาก vulva ปิดไม่สนิท หรือมีการอักเสบของช่องคลอด เนื่องจากมีอุจจาระไหลผ่าน vulva เข้าไปในช่องคลอด เนื่องจากตำแหน่ง vulva ผิดปกติ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาของระบบสืบพันธุ์

Clitoris
                อยู่บริเวณ floor ของ vestibule เปรียบได้กับ penis ของสัตว์เพศผู้ ประกอบด้วย crus สองข้าง, body ของclitoris ที่มี corpus cavernosum อยู่ และ ส่วนของ glans ที่มี corpus spongiosum อยู่